วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แมวน้ำช้าง

แมวน้ำช้าง
Southern elephant seal, Mirounga leonina
Southern elephant seal, Mirounga leonina

การล่าแมวน้ำ

กลุ่ม ฮิวแมน โซไซตี นำออกมาเผยแพร่เมื่อวันเสาร์ เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงการสังหารแมวน้ำอย่างทารุณ ในช่องแคบเคบอทของแคนาดา หลังจากการล่าแมวน้ำประจำปีเริ่มขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยแมวน้ำที่ถูกล่านั้นจะถูกนักล่าแมวน้ำใช้ไม้ตีจนมันตาย และลากซากของมันไปขึ้นเรือ ซึ่งเว็บไซต์ของ ฮิวแมน โซไซตี อ้างว่า จนถึงขณะนี้มีแมวน้ำตายไปแล้วกว่า 7,300 ตัว

การ ล่าแมวน้ำในแคนาดาจะจัดเป็นประจำทุกปี โดยกลุ่มดูแลสิทธิของสัตว์หลายกลุ่ม บอกว่า การล่าแมวน้ำ ซึ่งเป็นเทศกาลล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใช้ชีวิตอยู่ในน้ำที่ใหญ่ ที่สุดในโลก เป็นการทารุณกรรมและยากที่จะคอยติดตามดูแล อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อจำนวนประชากรของแมวน้ำอีกด้วย แต่หน่วยงานด้านการประมงและนักล่าแมวน้ำปกป้องเรื่องนี้ โดยยืนยันว่า เป็นการล่าอย่างพอเพียง และมีการจัดการที่ดี

สำหรับ ปีนี้ บรรดาพรานล่าแมวน้ำต้องดำเนินหลายขั้นตอนในการล่าแมวน้ำ เพื่อให้แน่ใจว่า แมวน้ำเหล่านั้นตายก่อนที่พวกมันจะถูกถลกหนัง รวมทั้งต้องตัดเส้นเลือดใต้ ครีบของมัน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในรายงานของสหภาพยุโรป เมื่อเดือนธันวาคมที่แล้ว และปีนี้จำนวนแมวน้ำที่ได้รับอนุญาตให้ล่าได้มีทั้งหมด 275,000 ตัว สูงขึ้นจากเมื่อปีที่แล้ว ที่อนุญาตให้ล่าได้ 270,000 ตัว
พอ ผมอ่านข่าวนี้แต่ไม่เห็นรูป เลยไปค้นหาภาพมาให้ชมถึงความโหดร้าย ของมนุษย์ ผมก็เลยมาคิดว่า พวกฝรั่งเนี้ย เค้าจะทำอะไรตามหลักวิชาการดีเหมือนกัน การล่าเพื่อความพอเพียง ไม่ใช่ล่าเพื่ออาหาร แต่ล่าเพื่อการพาณิชย์  ( พอเพียงจริงๆ  สองแสนเจ็ดหมื่นกว่าตัว คงได้เงินมาหลาย แน่ๆ ) และลดปริมาณของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใช้ชีวิตอยู่ในน้ำที่ใหญ่ที่สุดใน โลก  สหภาพยุโรปก็เอากับเขาด้วยนะ อนุญาติให้ล่าแต่ต้องไม่ทารุณมัน ด้วยการตีที่หัวแล้ว ใช้มีดตัดเส้นเลือด ก่อนถลกหนัง ก็มันก็เจ็บ และ ตายเหมือนกัน ( หรือเพียงเพื่อเป็นหลักการรักษาคุณภาพของหนังแมวน้ำ )  ทำไม มนุษย์ไม่มีอะไรที่ทำได้ดีกว่านี้แล้วหรือ  ช่วยกันครับ ช่วยกันหยุดการทารุณ และ การฆ่าสัตว์

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แมวน้ำ

แมวน้ำ
แมวน้ำเคปเฟอร์ซีล
แมวน้ำเคปเฟอร์ซีล(แมวน้ำแอฟริกาใต้) 
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Cape Fur Seal(South African Fur Seal)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Arctocephalus pusillus pusillu

ลักษณะทั่วไป
    
ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย โดยมีคอเป็นสันใหญ่ สีขนลำตัวของตัวผู้เป็นสีเทา-ดำ และมีสีน้ำตาลแซม น้ำหนักราว 247 กิโลกรัม ความยาว 2.15 เมตร ตัวเมียมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาล-เทา น้ำหนักราว 57 กิโลกรัม และมีความยาว 1.56 เมตร
      

ถิ่นอาศัย, อาหาร
     ออกจับปลาในทะเลใกล้เกาะเล็ก ๆ และขึ้นฝั่งบนเกาะบริเวณชายหาดที่เป็นโขดหินที่มีการขึ้นลงของน้ำทะเลในเขตแอฟริกาใต้
     กินปลาเป็นอาหารหลักรวมทั้งปลาหมึกและหอย

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     แมวน้ำเคปเฟอร์ซีลเป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ชอบล่าเหยื่อและหากินตามผิวน้ำหรือน้ำตื้นๆ หากินปลาตามเรือของชาวประมง
     ในช่วงกลางเดือนตุลาคม ตัวผู้จะไปยังพื้นที่ผสมพันธุ์ซึ่งเป็นชายหาดที่เป็นโขดหินและประกาศอาณาเขต อีกหลายสัปดาห์ต่อมาตัวเมียจะตามเข้ามาเพื่อออกลูกจำนวน 1 ตัว ซึ่งจะมีตัวเมียหลายตัวเข้ามาในอาณาเขต ตัวผู้ที่ครองอาณาเขตจะไล่ตัวผู้ตัวอื่นออกนอกอาณาเขตหากล้ำเข้ามา จนกว่ามันจะได้ผสมพันธุ์กับตัวเมียทุกตัว ตัวเมียจะเป็นสัดหลังการออกลูก 5 - 6 วัน และมีระยะการตั้งท้องนานประมาณ 1 ปี

สถานภาพปัจจุบัน
      

สถานที่ชม
      สวนสัตว์เชียงใหม่